Last updated: 26 Aug 2024 | 143 Views |
สัญญาณ BLUETOOTH ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราหรือไม่?
เคยสงสัยกันไหมว่า..ในทุกๆ วัน ที่เราใช้งานอุปกรณ์เสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงบลูทูธ, หูฟังออกกำลังกาย หรือใช้งานหูฟังบลูทูธ, หูฟังไร้สาย ในทุกๆ วัน Bluetooth (บลูทูธ) ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราหรือไม่? มารู้ไปพร้อมกัน!
รังสีจากบลูทูธ เป็นอันตรายหรือไม่
- จริงๆ แล้ว ในชีวิตประจำวันของเราเกือบตลอดเวลา ถูกล้อมรอบไปด้วยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งบลูทูธก็จัดอยู่ในส่วนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม รังสีที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์บลูทูธทั่วไปๆ นั้น ถือว่าอยู่ในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งน้อยกว่าที่คลื่นที่ปล่อยออกมาจากสมาร์ทโฟน หรือเราเตอร์ Wi-Fi เป็นต้น
รังสีจากบลูทูธ เป็นอันตรายหรือไม่
- หน่วยของการวัดที่ใช้ในการประเมินความแรงของรังสีที่ปล่อยออกมา คือ อัตราการดูดซับจำเพาะ (SAR) เป็นการบ่งชี้ว่าร่างกายมนุษย์ดูดซับรังสีมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้มาจาก Federal Office for Radiation Protection และระบุว่าน้ำหนักตัวรวมสูงถึง 0.08 วัตต์/กิโลกรัม หรือสูงถึง 2 วัตต์/กิโลกรัมในแต่ละส่วนของร่างกาย ถือว่าไม่เป็นอันตราย
สรุป : สัญญาณจากหูฟังบลูทูธ ไม่เป็นอันตราย
- อย่างไรก็ตามผู้ผลิตอุปกรณ์บลูทูธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมา การแผ่รังสีของบลูทูธที่ปล่อยออกมาจากหูฟังนั้น ถือว่าต่ำมาก ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่รู้หรือไม่? การคุยโทรศัพท์แบบแนบหู จะได้รับรังสีมากกว่าการฟังเพลงจากหูฟังไร้สาย หูฟังบลูทูธเสียอีก
โดยสรุปแล้ว หากอยากใช้งานหูฟังบลูทูธให้ปลอดภัย ควรระวังในการฟังเสียงที่ดังเกินไป และไม่ใช้หูฟังติดต่อกันเป็นเวลานานจะดีกว่า เพื่อไม่ให้กระทบต่อการได้ยินของเราในระยะยาว